วันพฤหัสบดีที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2555

หลักการสั่งการอำนวยการ (Directing)




หลักการสั่งการอำนวยการ (
Directing)




การอำนวยการ

หมายถึง การจัดการของผู้บริหาร หรือผู้มีอำนาจในการสั่งการตามหน้าที่ความรับผิดชอบ ชี้แนะ บุคคล การนิเทศงาน และการติดตามผล เพื่อให้งานดำเนินไปตามแผน หรือเป้าหมายที่กำหนดไว้



องค์ประกอบของการอำนวยการ มี
4 องค์ประกอบ ได้แก่

1. ความเป็นผู้นำ

เป็นกระบวนการของการสั่งการ และการใช้อิทธิพลต่อกิจกรรมต่างๆ ของสมาชิกในองค์การ ให้ยอมตามเพราะยอมรับในอำนาจที่มาจาก 3 แหล่ง คือ

1) ขนบธรรมเนียมประเพณีที่สืบทอดกันมา

2) อำนาจจากบารมี

3) อำนาจตามกฎหมาย

จึงก่อให้เกิดผู้นำ 3 แบบ คือ

1) แบบประชาธิปไตย

2) แบบเผด็จการ

3) แบบตามสบาย


2.
การจูงใจ

มีความสำคัญต่อการสั่งการหรือการอำนวยการ เพราะเกี่ยวกับบุคลากรให้ปฏิบัติงาน จึงจำเป็นต้องมีการจูงใจหรือกระตุ้นให้อยากทำงาน โดยอาศัยหลักธรรมชาติว่ามนุษย์ต้องการ 5 ระดับได้แก่

1) ความต้องการขั้นพื้นฐาน คือปัจจัย 4

2) ความต้องการความมั่นคงปลอดภัย

3) ความต้องการทางสังคม

4) ความต้องการมีเกียรติยศชื่อเสียง

5) ความต้องการประสบความสำเร็จในชีวิต

ดังนั้น ในการสั่งการโดยมีเทคนิคจูงใจด้วย ก่อนจะสั่งการควรขึ้นคำถามก่อนว่า พอมีเวลาหรือไม่หรือ คุณจะช่วยงานนี้ได้ไหม


3.
การติดต่อสื่อสาร

เป็นกระบวนการสำคัญช่วยให้การอำนวยการดำเนินไปได้ด้วยดีมีประสิทธิภาพ มี 2 ลักษณะคือ

1) สื่อสารแบบทางเดียว

2) สื่อสารแบบ 2 ทาง


4.
องค์การและการบริหารงานบุคคล

จุดมุ่งหมายของนักอำนวยการคือ ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและองค์การ ซึ่งต้องการไม่เหมือนกันผู้อำนวยการจึงต้องทำให้เกิดความสมดุลกัน



รูปแบบของการอำนวยการ มี
5 รูปแบบ ได้แก่

1. คำสั่งแบบบังคับ

2. คำสั่งแบบขอร้อง

3. คำสั่งแบบแนะนำหรือโดยปริยาย

4. คำสั่งแบบขอความสมัครใจ


หลักการจัดการคนเข้าทำงาน (Staffing)



หลักการจัดการคนเข้าทำงาน (
Staffing)



หลักในการบริหารงานบุคคล แบ่งเป็น
2 ระบบ ได้แก่

1. ระบบคุณธรรม (Merit System)

เป็นระบบการบริหารบุคคลที่อาศัยความรู้ ความสามารถของบุคคลเป็นหลัก ไม่คำนึงถึงความสัมพันธ์ส่วนตัว มีลักษณะสำคัญดังนี้

1.1 หลักความเสมอภาค (Equality Opportunity)

เป็นการให้โอกาสที่เท่าเทียมกันแก่บุคคลทั้งในการเข้าสู่การเป็นราชการและอยู่ในระหว่างการเป็นข้าราชการ ซึ่งเป็นแนวคิดตามหลักประชาธิปไตยที่ให้สิทธิเสมอภาคแก่บุคคลภายในขอบเขตของกฎหมาย โดยถือว่าทุกคนจะต้องได้รับการปฏิบัติอย่างเสมอภาคด้วยคุณสมบัติและหลักเกณฑ์ที่อยู่ในมาตรฐานเดียวกัน

1.2 หลักความสามารถ (Competence)

เป็นการถือความสามารถของบุคคลเป็นสำคัญ เพื่อให้เหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่ และต้องสามารถใช้ความรู้มาปฏิบัติงานให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวมได้อย่างเต็มที่

1.3 หลักความมั่นคง (Security of Tenure)

ซึ่งต้องได้รับการยอมรับและคุ้มครองตามกฎหมาย คือ จะไม่ถูกปลดออกหรือไล่ออกจากงานโดยไม่มีเหตุที่พิสูจน์ได้ หลักการนี้มุ่งให้ข้าราชการเกิดความมั่นคงถาวรในอาชีพ และเกิดความรู้สึกมั่นคงที่จะแสวงหาความเจริญก้าวหน้าในหน้าที่ของตน โดยไม่ต้องคำนึงถึงเหตุผลส่วนตัวหรือทางการเมือง

1.4 หลักความเป็นกลางทางการเมือง (Political Neutrality)

การที่ข้าราชการประจำต้องเป็นกลางทางการเมืองและสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ตามนโยบายของรัฐบาลอย่างเต็มความสามารถ โดยไม่ขึ้นอยู่กับอิทธิพลของพรรคการเมืองหนึ่งพรรคการเมืองใด แต่ยังคงสิทธิทางการเมืองเช่นเดียวกับประชาชนทั่วไป



2.
ระบบอุปถัมภ์ (Patronage System)

เป็นระบบดั้งเดิม โดยมีแหล่งกำเนิดมาจากจีนโบราณ ที่มักใช้การสืบทอดทางสายเลือด รวมไปถึง การนำสิ่งของมาแลกตำแหน่ง ลักษณะที่สำคัญได้แก่

1) ไม่คำนึงถึงความรู้ ความสามารถ

2) ไม่เปิดโอกาสที่เท่าเทียมกันในการเลือกสรร

3) มักมีอิทธิพลทางการเมืองเข้ามาแทรกแซงกิจการภายในของหน่วยงาน



การจำแนกตำแหน่ง

หมายถึง การจัดสรรตำแหน่งออกเป็นประเภท หมวดหมู่ ตามลำดับชั้น เพื่อความสะดวกในการสรรหา บรรจุ แต่งตั้ง เลื่อนขั้น และเลื่อนตำแหน่ง แบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่


1.
จำแนกตำแหน่งตามลักษณะตำแหน่ง (Position Classification)

เป็นการจำแนกตำแหน่งโดยถือลักษณะความรับผิดชอบของตำแหน่งเป็นสำคัญ เช่น กลุ่มเจ้าหน้าที่ธุรการ การเงิน นิติกร วิศวกร เป็นต้น


2.
การจำแนกตำแหน่งตามลักษณะยศ (Rank Classification)

เป็นการจำแนกตำแหน่งตามตำแหน่งที่ประกอบกับชั้นยศ ใช้กับทหาร ตำรวจ


3.
การจำแนกตำแหน่งตามลักษณะชั้นยศทางวิชาการ (Academic Rank Classification)

จำแนกตามคุณลักษณะความเชี่ยวชาญ วิชาการ เช่น ครู อาจารย์



การวางแผนกำลังคน (
Manpower Planning)

หมายถึง กระบวนการที่กำหนดหรือระบุ ความต้องการกำลังคน รวมทั้งวิธีการที่จะทำให้ได้มาซึ่งกำลังคนตามที่ต้องการ เพื่อการปฏิบัติงานตามวัตถุประสงค์และแผนขององค์การที่วางไว้ การวางแผนกำลังคนจะช่วยให้มีการเตรียมการไว้ล่วงหน้าทั้งระยะสั้นและระยะยาว เพื่อจะได้มีคนไว้ทำงานในทุกตำแหน่งและทุกระดับ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การวางแผนกำลังคนทำให้เราเชื่อมั่นว่า เรามีคนที่เหมาะสมพร้อมไว้เสมอที่จะบรรจุเข้าทำงานในตำแหน่งต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งตำแหน่งที่สำคัญ ๆ ขั้นตอนของการวางแผนกำลังคน มีดังนี้


1.
ศึกษานโยบายและแผนขององค์การ

กระบวนการวางแผนกำลังคนต้องให้สอดคล้องกับนโยบายและแผนขององค์การ และคาดคะเนปัจจัยหลาย ๆ อย่างที่มีผลกระทบต่อการกำหนดนโยบายและแผนขององค์การ เช่น แนวโน้มของธุรกิจนั้น ๆ ในอนาคต, การขยายตัวและการเจริญเติบโตขององค์การ (และคู่แข่ง), การเปลี่ยนแปลงรูปแบบและโครงสร้างองค์การ, การเปลี่ยนแปลงในแนวคิดปรัชญาการบริหารในอนาคต, บทบาทของรัฐบาล, บทบาทสหภาพแรงงาน, การแข่งขันของธุรกิจทั้งภายในและภายนอกประเทศ


2.
การตรวจสภาพกำลังคน

ค้นหาอย่างเป็นระบบเกี่ยวกับสภาพกำลังคนที่มีอยู่ในองค์การ เช่น จำนวนตำแหน่ง อัตรากำลังคน ความสามารถของพนักงานที่มีอยู่ การตรวจสภาพกำลังคนอาจจะทำได้ดังต่อไปนี้

1) การวิเคราะห์งานแต่ละตำแหน่ง องค์การมีตำแหน่งอะไรบ้าง มีคุณสมบัติแต่ละตำแหน่งอย่างไรบ้าง

2) การทำบัญชีรายการทักษะ ตรวจสภาพพนักงานแต่ละคนมีความสามารถ ชำนาญถนัดในด้านใดบ้าง

3) คาดการความสูญเสียกำลังคนในอนาคต ใครจะลาออกในอนาคต ใครเกษียณอายุปีหน้าบ้าง

4) ศึกษาความเคลื่อนไหวภายในเกี่ยวกับ การเลื่อนขั้น เลื่อนตำแหน่ง โยกย้าย ให้เป็นปัจจุบันตลอดเวลา


3.
การพยากรณ์ความต้องการกำลังคน

คล้ายกับการตรวจสภาพกำลังคน แต่การพยากรณ์มุ่งเน้นอนาคต จะอาศัยปัจจัยต่อไปนี้เพื่อช่วยในการพยากรณ์คือ

1) ปริมาณการผลิต

2) การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี

3) อุปสงค์และอุปทาน

4) การวางแผนอาชีพให้แก่พนักงาน Career Planning


4.
การเตรียมหาคนสำหรับอนาคต อาจทำได้ดังนี้

1) การฝึกอบรมพัฒนาพนักงานที่มีอยู่ ช่วยขวัญกำลังใจ แผนอาชีพ

2) การสรรหาคัดเลือกบุคคลจากภายนอก ตลาดแรงงาน


วันพฤหัสบดีที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2555

การจัดผังโครงสร้างของศูนย์ (Organizing)


การจัดผังโครงสร้างของศูนย์
(Organizing)


ขั้นตอนการเขียนแผนผังการบริหารงานศูนย์

1. ศึกษาจุดมุ่งหมายของโครงการและหน่วยงานนั้นให้ชัดเจน

2. วิเคราะห์งาน แล้วแบ่งเป็นหมวดหมู่ โดยให้แต่ละหมวดหมู่ของงานมีความสำคัญทัดเทียม ทั้งปริมาณและคุณภาพ

3. กำหนดขอบเขตของการใช้อำนาจบริหารและควบคุมงาน ตลอดจนดำเนินงานในแต่ละหน่วยงานย่อยให้ชัดเจนโดยการแสดงสายงาน

4. การจัดรูปแบบงานโดยคำนึงถึงอำนาจหน้าที่การบริหารและความรับผิดชอบควบคู่กันไป


รูปแบบแผนผังการจัดโครงสร้าง

1. แบบ Line Organization

เป็นรูปแบบการจัดโครงสร้างตามงานที่รับผิดชอบในอำนาจหน้าที่กันเป็นขั้น ๆ จากระดับสูงสุดไปจนกระทั่งต่ำสุด


ตัวอย่าง

ระบบสารสนเทศสำนักสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม



แหล่งที่มา : http://nsm.go.th/intraNSM/Health/index.aspx


2. แบบ Line and Staff Organization

เป็นรูปแบบการจัดโครงสร้างสำหรับหน่วยงานขนาดใหญ่ ซึ่งผู้บริหารคนเดียวไม่สามารถดำเนินการได้ จึงมีในรูปแบบของคณะกรรมการต่าง ๆ เข้ามาเป็นผู้ช่วยควบคุมการทำงานโดยมีอำนาจทางอ้อมในการดำเนินการนั้น ๆ



ตัวอย่าง

กองบัญชาการตำรวจนครบาล (Metropolitan Police Bureau)



แหล่งที่มา : http://www.thaimetropolice.com/index.php